วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ความเป็นมา
บทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี มีที่มาจากหนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2533 ในวโรกาสที่พระองค์ทรงพระเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ โดยนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รุ่นที่ 41 หนังสือรวมบทพระราชนิพนธ์เรื่อง มณีพลอยร้อยแสง แบ่งเนื้อหาออกเป็น 11 หมวด ด้วยกัน คือ กลั่นแสงกรองกานท์, เสียงพิณเสียงเลื่อน เสียงเอื้อนเสียงขับ, เรียงร้อยถ้อยดนตรี, ชวนคิดพิจิตรภาษา, นานาโวหาร, คำขานไพรัช, สมบัติภูมิปัญญา, ธาราความคิด, นิทิศบรรณา,สาราจากใจ และ มาลัยปกิณกะ ในหมวด ชวนคิดพิจิตรภาษา เป็นพระราชนิพนธ์บทความและบทอภิปรายรวม 4 เรื่อง คือ ภาษาไทยกับคนไทย, การใช้สสรพนาม, วิจารย์คำอธิบายเรื่องนามกิตก์ในไวยากรณ์บาลีและ ทุกข์ของชาวนาในบทกวี

ประวัติผู้แต่ง
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพระราชกรณียกิจหลายประการ เช่น ด้านดนตรีไทย ทรงพระปรีชาสามารถในการขับร้องเพลงและทรงบรรเลงดนตรีไทยได้หลายประเภท ด้านภาษาและวรรณคดี ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมร้อยแก้ว ร้อยกรอง และงานแปลงานพระราชนิพนธ์ที่รู้จักแพร่หลาย ได้แก่ ย่ำแดนมังกร ผีเสื้อแก้วจอมแก่น แก้วจอมซน ดั่งดวงแก้ว เป็นต้น ทั้งนี้ในงานพระราชนิพนธ์แต่ละเรื่อง พระองค์จะทรงใช้พระนามแฝงที่แตกต่างกันไป เช่น ก้อนหิน แว่นแก้ว หนูน้อย เป็นต้น นอกจากนี้ยังประกอบพระราชกรณียกิจในด้านการศึกษา การพัฒนาสังคม โดยมีโครงการใน พระราชดำริส่วนพระองค์หลายโครงการโดยมุ่งเน้นทางด้านการแก้ปัญหาการขาดสารอาหารของเด็กในท้องถิ่นทุรกันดารและพัฒนามาสู่การให้ความสำคัญทางด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาบุคคลอย่างสมบูรณ์

ลักษณะคำประพันธ์
ทุกข์ของชาวนาในบทกวี เป็น บทความแสดงความคิดเห็น ซึ่งเป็นบทความที่มีจุดมุ่งหมายที่แสดงความคิดเห็นต่อประเด็นใดประเด็นหนึ่ง ความคิดเห็นที่นำเสนอได้มาจากการวิเคราะห์ การใช้วิจารณญาณไตร่ตรองของผู้เขียน โดยผ่านการสำรวจปัญหา ที่มาของเรื่อง และข้อมูลต่างๆ อย่างละเอียด ความคิดเห็นที่นำเสนออาจจะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาตามทัศนะของผู้เขียนหรือการโต้แย้งความคิดเห็นของผู้อื่นที่มีมาก่อนอย่างไรก็ตาม บทความแสดงความคิดเห็นที่ดีควรนำเสนอทัศนะใหม่ที่ยังไม่เคยมีใครคิด หรือเสนอทัศนะที่มีเหตุผลเป็นการส้างสรรค์ ไม่ใช่บ่อนทำลายความน่าเชื่อถือของความคิดเห็นที่นำเสนอนั้นขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์ปัญหา การใช้ปัญหาไตร่ตรองโดยปราศจากอคติและการแสดงถึงเจตนาดีของผู้เขียนที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม

จุดมุ่งหมาย
1.เขียนรายงานทางวิชาการได้ถูกต้อง
2. ศึกษาหาความรู้และสามารถนำมาถ่ายทอดได้
3. พูดรายงานได้ตามวัตถุประสงค์

เรื่องย่อ
เนื้อความในตอนแรกของบทความเรื่อง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ทรงยกบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งกล่าวถึงชีวิตและความทุกข์ยากของชาวนา ในตอนต่อมาทรงแปลบทกวีจีนของหลี่เชินเป็นภาษาไทย ทำให้มองเห็นภาพของชาวนาจีนเมื่อเปรียบเทียบกับชาวนาไทยว่ามิได้มีความแตกต่างกันแม้ในฤดูกาลเพาะปลูก ซึ่งภูมิอากาศเอื้อให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาเท่าที่ควร และส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ทรงชี้ให้เห็นว่าแม้ จิตร ภูมิศักดิ์และหลี่เชินจะมีกลวิธีการนำเสนอบทกวีที่แตกต่างกัน แต่กวีทั้งสองท่านกลับมีแนวคิดที่คล้ายคลึงกัน คือ มุ่งที่จะกล่าวถึงความทุกข์ยากของชาวนาและทำให้เห็นว่าชาวนาในทุกแห่งและทุกสมัยล้วนประสบแต่ความทุกข์ยากไม่ต่างกัน

คำศัพท์
กำซาบ ซึมเข้าไป
เขียวคาว สีเขียวของข้าว ซึ่งน่าจะหอมสดชื่น แต่ในบทกวีกลับมีกลิ่นเหม็นคาว เพราะข้าวนี้เกิดจากหยาดเหงื่อซึ่งแสดงถึงความทุกข์ยากและความขมขื่นของชาวนา
ธัญพืช มาจากภาษาบาลีว่า ธญฺญพืช เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารหลัก
ประกันราคา การที่รัฐ เอกชน หรือองค์กรต่างๆ รับประกันที่จะรับซื้อผลผลิตตามราคาที่ได้กำหนดไว้ในอนาคต ไม่ว่าราคาในอนาคตจะเปลี่ยนแปลงไปก็ตามเปิบหรือ เปิบข้าว หมายถึง วิธีการใช้ปลายนิ้วทั้งห้าหยิบข้าวใส่ปากตนเอง
ภาคบริการ อาชีพที่ให้บริการผู้อื่น เช่น พนักงานในร้านอาหาร ช่างเสริมสวย
ลำเลิก กล่าวทวงบุญคุณ กล่าวคำตัดพ้อต่อว่า โดยยกเอาความดีที่ตนทำไว้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อให้สำนึกถึงบุญคุณ
สวัสดิการ การให้สิ่งที่เอื้ออำนวยให้ผู้ทำงานมีชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีความสะดวกสบาย เช่น มีสถานพยาบาล มีที่พักอาศัย จัดรถรับส่ง
สู สรรพนามบุรุษที่ ๒ เป็นคำโบราณ
อาจิณ ประจำ

บทวิเคราะห์
1) คุณค่าด้านภาษา กลวิธีการแต่ง ทุกข์ของชาวนาในบทกวี นับเป็นตัวอย่างอันดีของบทความทีสามารถยึดถือเป็นแบบอย่างได้ ด้วยแสดงให้เห็นแนววความคิดชัดเจน ลำดับเรื่องราวเข้าใจง่ายและมีส่วนประกอบของงานเขียนประเภทบทความอย่างครบถ้วน คือ
- ส่วนนำ กล่าวถึงบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ที่ทรงได้ยินได้ฟังมาในอดีตมาประกอบในการเขียนบทความ
- เนื้อเรื่อง วิจารณ์เกี่ยวกับกลวิธีการนำเสนอบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ และของหลี่เชินโดยทรงยกเหตุผลต่างๆและทรงแสดงทัศนะประกอบ เช่น
“…ชวนให้คิดว่าเรื่องจริงๆนั้น ชาวนาจะมีโอกาสไหมที่จะ ลำเลิก กับใครๆ ว่าถ้าไม่มีคนที่คอยเหนื่อยยากตรากตรำอย่างพวกเขา คนอื่นๆ จะเอาอะไรกิน...”
- ส่วนสรุป สรุปความเพียงสั้นๆแต่ลึกซึ้ง ด้วยการตอกย้ำเรื่องความทุกข์ยากของชาวนา ไม่ว่ายุคสมัยใดก็เกิดปัญหหาเช่นนี้ ดังความที่ว่า
“…ฉะนั้นก่อนที่ทุกคนจะหันไปกินอาหารเม็ดเหมือนนักบินอวกาศ เรื่องความทุกข์ของชาวนาก็คงเป็นแรงสร้างความสะเทือนใจให้แก่กวียุคคอมพิวเตอร์สืบต่อไป…”
สำหรับกลวิธีการอธิบายนั้นให้ความรู้เชิงวรรณคดีเปรยบเทียบแก่ผู้อ่าน โดยทรงใช้การเปรียบเทียบวิธีการนำเสนอของบทกวีไทยและบทกวีจีน ว่า
“ เทคนิคในการเขียนของหลี่เชินกับของจิตรต่างกัน คือ หลี่เชินบรรยายภาพที่เห็นเหมือนจิตรกรวาดภพให้คนชม ส่วนจิตรใช้วิธีเสมือนกับนำชาวนามาบรรยายเรื่องของตนให้ผู้อ่านฟังได้ด้วยตนเอง ”

บทกวีของหลี่เชินเป็นบทกวีที่เรียบง่าย แต่แสดงความขัดแย้งอย่างชัดเจน คือ แม้ว่าในฤดูกาลเพาะปลูก ภูมิอากาศจะเอื้ออำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นของผู้ผลิต คือชาวนาหรือเกษตรกรเท่าที่ควร ซี่งหลี่เชินได้บรรยายภาพทั่เห็นเหมือน จิตรกรวาดภาพให้คนชม ส่วนจิตร ภูมิศักดิ์ ใช้กลวิธีการบรรยายเสมือนว่าชาวนาเป็นผู้บรรยาย เรื่องราวให้ผู้อ่านฟังด้วยตนเองอย่างไรก็ตาม แนวคิดของกวีทั้งสองคนก็คล้ายคลึงกัน คือต้องการสื่อให้ผู้อ่านได้เห็นว่าสภาพชีวิตชาวนาในทุกแงและทุกสมัย ประสบความทุกข์ยากไม่แตกต่างกัน

คุณค่าด้านสังคม
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงเริ่มต้นด้วยการยกบกกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งแต่งด้วยกาพย์ยานี ๑๑ จำนวน ๕ บทมีเนื้อหาเกี่ยวกับความยากลำบากของชาวนาที่ปลูกข้าวซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนทุกชนชั้น พระองค์ทรงเห็นด้วยกับบทกวีนี้และยังทรงกล่าวอีกว่าเนื้อหาบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ สอดคล้องกับบทกวีของหลี่เชิน กวีชาวจีนที่แต่งไว้ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง แสดงไห้เห็นว่าชีวิตของชาวนาไม่ว่าที่แห่งใดในโลก จะเป็นไทยหรือจีนจะเป็นสมัยใดก็ตาม ล้วนแล้วแต่มีความยากแค้นลำเค็ญเช่นเดียวกัน
ดังนั้นแนวคิดสำคัญของบทความพระราชนิพนธ์เรื่อง ทุกของชาวนาในบทกวี จึงอยู่ที่ความทุกข์ของชาวนาและสภาพชีวิตของชาวนาที่ถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอ ดังความที่ว่า
“...แม้ว่าในฤดูกาลนั้นภูมิอากาศจะอำนวยให้พืชพันธุ์ธัญญาหารสมบูรณ์ดี แต่ผลผลิตไม่ได้ตกเป็นประโยชน์ผู้ผลิตเท่าที่ควร”

ข้อคิดที่ได้รับ
1.ได้รู้ความสำคัญเกี่ยวกับอาชีพของชาวนาว่าเป็นยังไง
2.ได้รู้ว่าชาวนาต้องลำบากเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ได้ตามความต้อการ 3.ได้รู้ว่า ทั้ง หลี่เจินและจิตร ภูมิศักดิ์ ได้เห็นความสำคัญเกี่ยวกับชาวนา

ความรู้เพิ่มเติม
จิตร ภูมิศักดิ์ เป็นนักวิชาการคนสำคัญคนหนึ่ง ของไทยที่มีผลงานทางวิชาการ ที่แปลใหม่และลึกซึ้ง รวมทั้งยังมีแนวคิดต่อต้านระบบเผด็จการและการใช้อำอาจกดขี่ของคนชั้นสูง นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญในด้านภาษาศาสตร์ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมรเป็นอย่างมาก วานนิพนธ์ที่โดเด่น ได้แก่ ภาษาและนิรุกติศาสตร์,โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา,ข้อเท็จจริงว่าด้วยชนชาติขอม,ที่มาของคำสยาม ไทย สาว และขอม,ลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ,โฉมหน้าศักดินาไทย และบทกวีของจิตร ภูมิศักดิ์ ซึ่งผลงานสามเรื่องหลังได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งร้อยหนังสือดีที่คนไทยควรอ่าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น